วันพระใหญ่ปีนี้ เวียนมาบรรจบกันอีกครั้ง เปิดประวัติ ‘วันวิสาขบูชา’ อาทิตย์ที่ 15 พฤษภาคม 2565 ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 เป็นหนึ่งในวันหยุด และวันสำคัญ ต่อชาวพุทธทั่วโลก โดยองค์การสหประชาชาติประกาศให้เป็น วันสำคัญของโลก เมื่อปี 2542 อันเนื่องมาจาก หลักธรรม สำคัญของ พระพุทธเจ้า ที่สอนให้มนุษยมีเมตาธรรม มุ่งสร้างสันติภาพ อันสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ขององการสหประชาติ (UN) อีกทั้งยังเกิดเหตุการณ์สำคัญในอดีต 3 เหตุการณ์จนเป็นที่มาความสำคัญในวันนี้ นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมต่าง ๆ ที่พุทธศาสนิกชนควรปฏิบัติ ในการน้อมนำและระลึกถึงหลักธรรมสำคัญในวันวิสาขบูชาให้เกิดประโยชน์สูงสุดอีกด้วย
เช็กปฏิทิน วันหยุด เดือน พฤษภาคม 2565 วันวิสาขบูชา วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6
ซึ่งปีนี้ตรงกับวันอาทิตย์ที่ 15 พฤษภาคม 2565 เป็นอีกหนึ่ง ‘วันสำคัญ’ ของโลก และชาวพุทธในหลากหลายประเทศ โดยวันนี้ตามพุทธประวัติ ได้เกิดเหตุการณ์สำคัญขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า กล่าวคือ เป็นวันประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพานของพระพุทธเจ้า ซึ่งจะตรงกันทั้ง 3 วัน แตกต่างกันแค่ปี
วันวิสาขบูชา 15 พฤษภาคม 2565 (ภาษาบาลีคือ วิสาขปุณฺณมีปูชา; ภาษาอังกฤษคือ Vesak) คือ วันสำคัญ ทางศาสนาพุทธสำหรับพุทธศาสนิกชนทุกนิกายทั่วโลก อีกทั้งยังเป็นวันหยุดราชการในหลายประเทศ รวมไปถึงประเทศไทย
และวันสำคัญในระดับนานาชาติตามข้อมติของสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ เพราะเป็นวันคล้ายวันที่เกิดเหตุการณ์สำคัญที่สุดในศาสนาพุทธ 3 เหตุการณ์ด้วยกัน คือ การประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพานของพระพุทธเจ้า
โดยองค์การสหประชาชาติ (UN) ได้เล็งเห็นว่า หลักธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าเรื่อง เมตาธรรม และการแสวงหาความสันติ สอดคล้องกับแนวทางการทำงานของ UN จึงได้ประกาศให้วันวิสาขบูชา เป็นวันสำคัญของโลก (International Day) เมื่อปี พ.ศ. 2542
ความสำคัญของ วันวิสาขบูชา มาจากทั้ง 3 เหตุการณ์นั่นคือ การประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพานของพระพุทธเจ้า ซึ่งได้เกิดในวันเดียวกัน ณ วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 หรือวันเพ็ญแห่งเดือนวิสาขะ (ต่างปีกัน) ชาวพุทธจึงถือว่า เป็นวันที่รวมเกิดเหตุการณ์อัศจรรย์ยิ่ง และเรียกการบูชาในวันนี้ว่า “วิสาขบูชา” ย่อมาจาก “วิสาขปุรณมีบูชา” แปลว่า “การบูชาในวันเพ็ญเดือนวิสาขะ”
อันเป็นเดือนที่สองตามปฏิทินของอินเดีย ซึ่งตรงกับวันเพ็ญเดือน 6 ตามปฏิทินจันทรคติของไทย และมักตรงกับเดือนพฤษภาคมหรือมิถุนายนตามปฏิทินจันทรคติของไทย
โดยในประเทศไทย ถ้าปีใดมีเดือน 8 สองหน ก็เลื่อนไปทำในวันเพ็ญเดือน 7 แต่ประเทศอื่นที่นับถือพระพุทธศาสนาเถรวาท และไม่ได้ถือคติตามปฏิทินจันทรคติไทย จะจัดพิธีวิสาขบูชาในวันเพ็ญเดือน 6 แม้ในปีนั้นจะมีเดือน 8 สองหนตามปฏิทินจันทรคติไทยก็ตาม
ส่วนในกลุ่มชาวพุทธมหายานบางนิกายที่นับถือว่า เหตุการณ์ทั้ง 3 นั้นเกิดในวันต่างกันไป จะมีการจัดพิธีวิสาขบูชาต่างวันกันตามความเชื่อในนิกายของตน ซึ่งไม่ตรงกับวันวิสาขบูชาตามปฏิทินของชาวพุทธเถรวาท
วันวิสาขบูชา’ กับเหตุการณ์สำคัญ 3 เหตุการณ์
วันวิสาขบูชา นั้นได้รับการยกย่องจากพุทธศาสนิกชนทั่วโลกให้เป็น วันสำคัญ สากลทางพระพุทธศาสนา เนื่องจากเป็นวันที่บังเกิดเหตุการณ์สำคัญ 3 เหตุการณ์ ที่เกี่ยวเนื่องกับพระพุทธเจ้าและจุดเริ่มต้นของศาสนาพุทธ
ซึ่งเหตุการณ์ทั้งหมดได้เกิดขึ้นเมื่อ 2,500 กว่าปีก่อน ณ ดินแดนที่เรียกว่าชมพูทวีปในสมัยพุทธกาล โดยเหตุการณ์แรก เมื่อ 80 ปี ก่อนพุทธศักราช เป็น “วันประสูติของเจ้าชายสิทธัตถะ” ณ ใต้ร่มสาลพฤกษ์ ในพระราชอุทยานลุมพินีวัน (อยู่ในเขตประเทศเนปาลในปัจจุบัน)
เหตุการณ์ที่สอง เกิดขึ้นเมื่อ 45 ปี ก่อนพุทธศักราช เป็น “วันที่เจ้าชายสิทธัตถะได้บรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณ ตรัสรู้เป็นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า” ณ ใต้ร่มโพธิ์พฤกษ์ ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม (อยู่ในเขตประเทศอินเดียในปัจจุบัน)
พร้อมกับ หลักธรรม สำคัญอีกมากมาย และเหตุการณ์ที่สาม เหตุการณ์สุดท้าย เมื่อ 1 ปี ก่อนพุทธศักราช เป็น “วันเสด็จดับขันธปรินิพพานขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า” ณ ใต้ร่มสาลพฤกษ์ ในสาลวโนทยาน
พระราชอุทยานของเจ้ามัลละ เมืองกุสินารา (อยู่ในเขตประเทศอินเดียในปัจจุบัน) โดยเหตุการณ์ทั้งหมดล้วนเกิดตรงกับวันเพ็ญเดือน 6 หรือเดือนวิสาขะนี้ทั้งสิ้น
ชาวพุทธจึงนับถือว่าวันเพ็ญเดือน 6 นี้ เป็นวันที่รวมวันคล้ายวันเกิดเหตุการณ์สำคัญๆ ของพระพุทธเจ้าไว้มากที่สุด และได้นิยมประกอบพิธีบำเพ็ญบุญกุศลและประกอบพิธีพุทธบูชาต่าง ๆ
เพื่อเป็นการถวายสักการะรำลึกถึงแด่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสืบมาจนปัจจุบัน
Credit : แนะนำสถานที่ท่องเที่ยว | แต่งบ้านและสวน | พระเครื่อง | รีวิวกล้องถ่ายรูป